Background



ข่าวประชาสัมพันธ์
แผนการท่องเที่ยว
10 มกราคม 2562

1943


 


 

 

 

แผนส่งเสริมการท่องเที่ยวองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา

  ตำบลคลองพา   อำเภอท่าชนะ

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

  ประจำปีงบประมาณ 2560

 

 

 

จัดทำโดย

 

 

 

 

สำนักปลัด  องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา

อำเภอท่าชนะ   จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

คำนำ

 

การจัดทำแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวปีงบประมาณ 2560 ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองพาเป็นการจัดทำแผนระยะสั้น ที่ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559  โดยจัดทำตามขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อให้การพัฒนาท้องถิ่นเป็นไปแบบ มีขั้นตอน มีเป้าหมาย ชัดเจนและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564) ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด  วิสัยทัศน์จังหวัด  ยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอ  วิสัยทัศน์อำเภอ  โดยการนำเอาข้อมูลจากการสำรวจปัญหา / ความต้องการของประชาชนในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา นำมาประมวลผลสรุปเป็นประเด็นนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น

แผนส่งเสริมการท่องเที่ยวปีงบประมาณ 2560 จะเกิดประโยชน์สูงสุดได้หากดำเนินงานไปตามแนวทางที่กำหนด  ตามวัตถุประสงค์  เป้าหมาย  กิจกรรมแผนงาน/โครงการที่วางไว้อย่างแท้จริง  เพื่อให้ประชาชน  สังคม  เศรษฐกิจ  การเมืองการบริหารได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุด บนพื้นฐานของการประหยัด  แต่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สำนักปลัด

องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา

 

 


สารบัญ

                                                                                          หน้า

 

ส่วนที่  1   สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน..................................................... 1

               1. ด้านกายภาพ................................................................................................................................. 1

               2. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ระบบสาธารณูปโภคพี้นฐาน)........................................................... 2

               3. ด้านสภาพทางสังคม..................................................................................................................... 4

               4. ด้านเศรษฐกิจ................................................................................................................................ 6

               5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และแหล่งน้ำ.............................................................. 6

               7. ด้านการเมือง การบริหาร........................................................................................................... 7

ส่วนที่  2   สรุปผังองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา.................................. 10

              

ส่วนที่  3  ............................................................. แผนส่งเสริมการท่องเที่ยว  13

 

ส่วนที่  4   สถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาในตำบลคลองพา ..........................................14

             วัดป่าท่าไท........................................................................................................................................ 14

 

ส่วนที่ 1

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

1.  ด้านกายภาพ

          1.1 ลักษณะที่ตั้ง / ขนาดพื้นที่ / อาณาเขต

            - ลักษณะที่ตั้ง

                    องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา จัดตั้งตามที่กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่ 113  ตอนพิเศษ 52 ง  ลงวันที่  25 ธันวาคม 2539  โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่  23 กุมภาพันธ์ 2540  ตั้งอยู่เลขที่ 127  หมู่ที่ 3  ตำบลคลองพา  อำเภอท่าชนะ  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าชนะไปทางทิศเหนือ ประมาณ  7  กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ  84  กิโลเมตร  พิกัด NL 1350 - 6005

            - ขนาดพื้นที่

                    มีเนื้อที่โดยประมาณ 223.13  ตารางกิโลเมตร หรือ 139,457.29 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 19.40 ของพื้นที่อำเภอท่าชนะ (อำเภอท่าชนะมีขนาดพื้นที่ประมาณ  1,153  ตารางกิโลเมตร) หรือประมาณร้อยละ 1.13 ของพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี (จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีขนาดพื้นที่ประมาณ 13,725 ตารางกิโลเมตร)            

            - อาณาเขต

                    โดยรอบเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ดังนี้

                    ทิศเหนือ        ติดต่อกับ   องค์การบริหารส่วนตำบลคันธุลี

                    ทิศใต้ ติดต่อกับ   องค์การบริหารส่วนตำบลสมองทองและองค์การบริหารส่วนตำบลประสงค์

                    ทิศตะวันออก ติดต่อกับ   องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชนะ

                    ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ   องค์การบริหารส่วนตำบลบางหิน อำเภอกะเปอร์   จังหวัดระนอง

          1.2  ลักษณะภูมิประเทศ

               สภาพพื้นที่สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ โดยมีถนนสายเพชรเกษม 41 เป็นแนวแบ่งเขต  ดังนี้

                    ทิศตะวันออกของถนน   ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนา, ทำสวน และเลี้ยงสัตว์

                    ทิศตะวันตกของถนน   ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูงและป่าเขาเหมาะแก่การทำสวน เช่น สวนยางพารา,สวนปาล์มน้ำมัน,สวนกาแฟและสวนผลไม้

          1.3 เขตการปกครอง

              ตำบลคลองพาแบ่งเขตการปกครองออกเป็นหมู่บ้านตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ.2457  ออกเป็น 13  หมู่บ้าน  ดังนี้

                   หมู่ที่ 1 บ้านชายท่า                          หมู่ที่ 2 บ้านมะม่วงงาม

                   หมู่ที่ 3 บ้านหนองปลิง                       หมู่ที่ 4 บ้านคลองพา

                   หมู่ที่ 5  บ้านกลาง                           หมู่ที่ 6 บ้านท่าไท

                   หมู่ที่ 7  บ้านท่าไทบน                       หมู่ที่ 8  บ้านขวัญพัฒน์

                   หมู่ที่ 9  บ้านสามแยกอินทรีย์ทอง           หมู่ที่ 10  บ้านขวัญพัฒนา

                   หมู่ที่ 11  บ้านทับสมิงคลา                    หมู่ที่ 12  บ้านเขาชงโค

                   หมู่ที่ 13  บ้านเขาน้อย

            ซึ่งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพาเต็มทั้ง 13 หมู่บ้าน

          1.4 ประชากร

               ตำบลคลองพามีมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด  3,518  ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น  8,134 คน  แบ่งเป็น  ชาย  4,127  คน   หญิง  4,007  คน  มีความหนาแน่นโดยเฉลี่ย  36.46 คน/ตารางกิโลเมตร  นอกจากนี้ยังมีประชากรแฝงกระจายอยู่ในเขตพื้นตำบลคลองพา โดยเข้ามารับจ้างเป็นคนงานในสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน

                   แยกเป็นชาย               5,096           คน

                   แยกเป็นหญิง              4,729           คน

                   จำนวนครัวเรือน           3,156           ครัวเรือน

 

2. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ระบบสาธารณูปโภคพี้นฐาน)       

        2.1 การคมนาคม

               องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา มีถนนสายหลักซึ่งเป็นทางหลวงแผ่นดิน คือ ถนนเพชร-เกษม 41 พาดผ่านบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 106+300 ถึง หลักกิโลเมตรที่ 109+200 และทางหลวงแผ่นดินสาย 4259  ทุ่งนางเภา – ทุ่งตาเพชร ผาดผ่านบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 12+000 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 31+000  นอกจากนี้ยังมีถนนสายคลองพาเป็นถนนที่วางตัวในแนวตะวันออก – ตะวันตก เริ่มจากบ้านหนองปลิง หมู่ที่ 3 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 0+000 มีความยาวของถนนที่ผิวจราจรลาดยางแล้ว คิดเป็นระยะทาง 6.88 กิโลเมตร ที่เหลือเป็นผิวจราจรแบบหินผุดำอีก 4.90 กิโลเมตร รวมทั้งถนนลาดยางสายชายท่า ซึ่งเริ่มจากบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 0+000 ทอดตัวในแนวตะวันตก – ตะวันออก พาดผ่านหมู่ที่ 1 ตำบลคลองพาไปจรดหมู่ที่ 2 ตำบลสมองทอง มีความยาวของถนนที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา  2.50 กิโลเมตร และถนนสายบ้านชายท่า – วัดเขากอม เริ่มจากแยกบ้านชายท่าไปจรดทางรถไฟสายใต้ ซึ่งมีผิวจราจรลาดยางตลอดระยะทาง 3.30 กิโลเมตร รวมทั้งถนนสายมะม่วงงามซึ่งเริ่มจากบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 0+000 ผาดผ่านหมู่ที่ 2, หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 13 ตำบลคลองพา ไปจรดทางรถไฟสายใต้ มีความยาวของถนนผิวจราจรลาดยาง 2.900 กิโลเมตร และผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็กอีก 0.900 กิโลเมตร           

               นอกจากนี้ยังมีถนนสายรองที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา ซึ่งมีผิวจราจรประเภทต่าง ๆ อาทิ ผิวจราจรลาดยางจำนวน 2 สาย  คิดเป็นระยะทาง 2.000 กิโลเมตร  ผิวจราจรลูกรัง จำนวน 36 สาย คิดเป็นระยะทางรวม 77.500 กิโลเมตร  ผิวจราจรหินผุดำ จำนวน 24 สาย คิดเป็นระยะ ทางรวม 64.900 กิโลเมตร  และมีถนนที่ผิวจราจรยังเป็นดินบดอัดแน่น อีกจำนวน 15 สาย คิดเป็นระยะ ทางรวม 20.000 กิโลเมตร ซึ่งถนนสายรองดังกล่าวข้างต้น เป็นภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองพาที่จะต้องก่อสร้าง/ปรับปรุงผิวจราจรให้อยู่ในสภาพดี สะดวกต่อการสัญจรไปมา

          2.2 ระบบไฟฟ้าให้แสงสว่างในครัวเรือนและริมทางสัญจร

                   องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพามีครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 2,592 ครัวเรือน  คิดเป็นร้อยละ 88.52 ของครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพาจะดำเนินการขยายเขตการให้ บริการไฟฟ้าในครัวเรือนให้ครอบคลุมทุกครัวเรือนต่อไป ส่วนระบบไฟฟ้าให้แสงสว่างริมทางสัญจร  องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพาได้ดำเนินการติดตั้งระบบไฟฟ้าให้แสงสว่างริมทางแล้ว จำนวน 84 จุด แต่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงทั้งตำบล ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพาจะดำเนินการติดตั้งเพิ่มเติมให้ครอบคลุมทุกจุดต่อไป

 

 

 

 

          2.3 การประปา

                  องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพามีระบบประปา 2 ประเภท ดังนี้

                   2.3.1 ระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่ ได้รับการสนับสนุนเงินอุดหนุนเฉพาะกิจจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในปีงบประมาณ 2549 งบประมาณ 6,000,000 บาท มาก่อทำการสร้างจำนวน 2 แห่ง คือ

                  - ระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่บ้านชายท่า  หมู่ที่ 1 ซึ่งใช้น้ำดิบจากคลองท่ากระจายมาผลิตน้ำประปา มีอัตราการผลิตน้ำได้  10 ลบ.ม.ต่อชั่วโมง หรือ 240 ลบ.ม.ต่อวัน ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของบ้านชายท่า หมู่ที่ 1 บ้านมะม่วงงาม หมู่ที่ 2  บางส่วนของพื้นที่บ้านหนองปลิง หมู่ที่ 3 และบ้านเขาน้อย หมู่ที่ 13  รวมครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาจากระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่บ้านชายท่าทั้งหมด 130ครัวเรือน

                  - ระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่บ้านท่าไทบน  หมู่ที่ 7 ซึ่งผลิตน้ำประปาโดยใช้น้ำดิบจากคลองพา  มีอัตราการผลิตน้ำได้ 10 ลบ.ม.ต่อชั่วโมง หรือ 240 ลบ.ม.ต่อวัน ให้บริการในพื้นที่บางส่วนของบ้านท่าไทบน หมู่ที่ 7 และบ้านท่าไท หมู่ที่ 6  รวมครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาจากระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่บ้านท่าไทบนทั้งหมด 26 ครัวเรือน

                   2.3.2 ระบบประปาหมู่บ้าน ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา ก่อสร้างเองและได้รับการถ่ายโอนจากหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งสิ้น 4 แห่ง  รายละเอียดดังนี้

                 - ระบบประปาหมู่บ้าน บ้านหนองปลิง หมู่ที่ 3 เป็นระบบประปาที่ก่อสร้างโดยใช้งบ ประมาณจากโครงการพัฒนาตำบล กระทรวงมหาดไทย เป็นระบบประปาบาดาล ให้บริการครอบคลุมพื้น ที่บ้านหนองปลิง หมู่ที่ 3 มีจำนวนครัวเรือนผู้ใช้น้ำประปา 94 ครัวเรือน 

                - ระบบประปาหมู่บ้าน บ้านเขาชงโค หมู่ที่ 12 ได้รับการถ่ายโอนจากกรมทรัพยากรธรณี(เดิม) เป็นระบบประปาบาดาล ขนาดความจุ 12 ลูกบาศก์เมตร ให้บริการครอบคลุมพื้นที่บ้านเขาชง- โค หมู่ที่ 12 มีจำนวนครัวเรือนผู้ใช้น้ำประปา 31 ครัวเรือน 

                 - ระบบประปาบ้านขวัญพัฒน์ (โรงเรียนบ้านขวัญพัฒน์) ได้รับการถ่ายโอนจากกรมทรัพยากรธรณี(เดิม) เป็นระบบประปาบาดาล ขนาดความจุ 20 ลูกบาศก์เมตร ให้บริการบางส่วนของพื้นที่บ้านขวัญพัฒน์ หมู่ที่ 8  และระบบประปาบ้านขวัญพัฒน์ หมู่ที่ 8 องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพาดำเนินการก่อสร้างเอง โดยใช้รูปแบบของกรมทรัพยากรธรณี(เดิม) เป็นระบบประปาบาดาล ขนาดความจุ 20 ลูกบาศก์เมตร ให้บริการบางส่วนของพื้นที่บ้านขวัญพัฒน์ หมู่ที่ 8  รวมครัวเรือนผู้ใช้น้ำประปาของบ้านขวัญพัฒน์ทั้ง 2 แห่ง  จำนวน  22 ครัวเรือน 

          2.4 การสื่อสารและโทรคมนาคม

             1) โทรศัพท์สาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพาที่พร้อมให้บริหาร 15 หมายเลข

             2) ระบบเสียงตามสาย/หอกระจายข่าว ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา ซึ่งติดตั้งบริเวณจุดต่าง ๆ ทั้ง 13 หมู่บ้านของตำบลคลองพา แต่ส่วนใหญ่ชำรุดใช้การไม่ได้ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา จะดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซม ให้ใช้งานได้ตามปกติ

          3)  ระบบอินเตอร์เน็ตตำบล  มีให้บริการฟรีแก่ประชาชนทั่วไป ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา โดยจัดเตรียมคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการไว้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

          2.5 การใช้ประโยชน์ที่ดิน

            ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา มีการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่หลากหลาย เพราะไม่ใช้พื้นที่ชุมชนเมือง กล่าวพอสังเขปได้ดังนี้

             1) การใช้ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย มีการสร้างที่พักอาศัยต่อเนื่องไปตามแนวถนนสาย ต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา และในพื้นที่อื่น ๆ อย่างกระจัดกระจาย

             2) การใช้ที่ดินประเภทเกษตรกรรม ส่วนใหญ่กระจายไปทั่วทั้งตำบล ยกเว้นบางส่วนของหมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 11 ซึ่งเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง จึงไม่มีการเข้าทำประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าว

             3) การใช้ที่ดินประเภทศาสนสถาน สถาบันการศึกษาและสถานที่ราชการ ซึ่งมีการใช้ที่ดินประเภทดังกล่าวอย่างเบาบาง

             4) ที่โล่งเพื่อนันทนาการและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของตำบล ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา ที่ใช้เป็นสนามกีฬาประเภทต่าง ๆ อาทิ ลานกีฬาประจำหมู่บ้าน สนามกีฬาในสถานศึกษา และสนามกีฬากลางขององค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งมีป่าชุมชนของบ้านท่าไท  หมู่ที่ 6 และบ้านเขาชงโค หมู่ที่ 12  ที่จัดไว้สำหรับอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

 

3. ด้านสภาพทางสังคม

        3.1 การศึกษา

               องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านขวัญพัฒน์ ซึ่งได้รับการถ่ายโอนมาจากกรมพัฒนาชุมชนเมื่อปี 2547 โดยจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย เปิดรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 3 ขวบขึ้นไป  ซึ่งในปีการศึกษา 2552 มีนักเรียน จำนวน 46 คน มีครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 2 คน  และนอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานศึกษาซึ่งอยู่ในสังกัดต่าง ๆ ดังนี้

               1) โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน 6   โรงเรียน  ได้แก่

                    - โรงเรียนบ้านชายท่า  ตั้งอยู่ที่บ้านชายท่า  หมู่ที่ 1  เปิดสอนในระดับอนุบาล 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6

                    - โรงเรียนบ้านคลองพา ตั้งอยู่ที่บ้านคลองพา  หมู่ที่ 4  เปิดสอนในระดับอนุบาล 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6

                    - โรงเรียนบ้านกลาง  ตั้งอยู่ที่บ้านกลาง  หมู่ที่ 5 เปิดสอนในระดับอนุบาล 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3

                    - โรงเรียนบ้านท่าไท  ตั้งอยู่ที่บ้านท่าไทบน  หมู่ที่ 7 เปิดสอนในระดับอนุบาล 1  ถึงประถมศึกษาปีที่ 6

                   -  โรงเรียนบ้านขวัญพัฒน์  ตั้งอยู่ที่บ้านขวัญพัฒน์  หมู่ที่ 8  เปิดสอนในระดับอนุบาล 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6

                   -  โรงเรียนบ้านมะม่วงงาม  ตั้งอยู่ที่บ้านเขาน้อย  หมู่ที่ 13  เปิดสอนในระดับอนุบาล 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6

              2) โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  จำนวน 1 โรงเรียน  คือ

                   -  โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านกอเตย  ตั้งอยู่ที่บ้านทับสมิงคลา  หมู่ที่ 11 เปิดสอนในระดับอนุบาล 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6

              3) ศูนย์การเรียนชุมชนในสังกัดของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าชนะ จำนวน 1 ศูนย์ คือ

                   -  ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลคลองพา  ตั้งอยู่ที่บ้านท่าไท  หมู่ที่ 6  เปิดสอนในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย

        3.2 การศาสนา

              องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา มีวัดในพระพุทธศาสนา จำนวน 1 วัด คือ วัดเขากอม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านชายท่า นอกจากนี้ยังมีสำนักสงฆ์อีก จำนวน 7 แห่ง ได้แก่

               -  สำนักสงฆ์นาตาจันท์  ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1  บ้านชายท่า 

               -  สำนักสงฆ์ตาสมบุญพัฒนาราม  ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4  บ้านคลองพา  

               -  สำนักสงฆ์บ้านกลาง  ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5  บ้านกลาง

               -  สำนักสงฆ์สันติวราบท  ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6  บ้านท่าไท 

               -  สำนักสงฆ์ท่าไท  ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7  บ้านท่าไทบน

               -  สำนักสงฆ์บ้านกอเตย  ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 11  บ้านทับสมิงคลา

               -  สำนักสงฆ์บ้านเขาชงโค  ตั้งอยู่ที่หมู่ที 12  บ้านเขาชงโค 

              และมีโบสถ์ในศาสนาคริสต์  จำนวน 1 แห่ง คือ โบสถ์หาดยาย  ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6  บ้านท่าไท  มีผู้นับถือศาสนาพุทธมากกว่าร้อยละ 98 นับถือศาสนาคริสต์ประมาณร้อยละ 1 นอกจากนั้นนับถือศาสนาอิสลามและอื่น ๆ

          3.3 ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม

             ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีภาษาไทยภาคใต้เป็นภาษาท้องถิ่นดั่งเดิมที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ มีสำเนียงการพูดที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ ซึ่งสำเนียงภาษาใต้ของแต่ละจังหวัดยังมีความแตกต่างกัน  รวมทั้งงานประเพณีสำคัญ ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพาได้มีการจัดสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ งานลอยกระทง  งานประเพณีแห่เทียนพรรษา  งานทอดกฐินสามัคคีและงานประเพณีวันสงกรานต์ เป็นต้น

        3.4 การสาธารณสุข

             ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพามีสถานบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนี้

             1) สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน  จำนวน 3 แห่ง  ได้แก่

                  -  สถานีอนามัยบ้านคลองพา  ตั้งอยู่ที่บ้านคลองพา  หมู่ที่ 4  รักษาการหัวหน้าสถานีอนามัยคือ นายสุมนัส  มีเพียร มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 1 คน  รับผิดชอบพื้นที่ หมู่ที่ 1 – 5 และ 13

                  -  สถานีอนามัยบ้านสัมปัง  ตั้งอยู่ที่บ้านท่าไท  หมู่ที่ 6  หัวหน้าสถานีอนามัยคือ นายสัมพันธ์  ศิลาราช  มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 2 คน  รับผิดชอบพื้นที่ หมู่ที่ 6,8,10 และ 12

                  -  สถานีอนามัยบ้านท่าไท  ตั้งอยู่ที่บ้านท่าไทบน  หมู่ที่ 7  หัวหน้าสถานีอนามัยคือ พ.จ.ท.บรรเลง รุ่งโรจน์  มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 1 คน  รับผิดชอบพื้นที่ หมู่ที่ 7,9 และ 11

            2) คลินิกและสถานพยาบาลของเอกชน จำนวน 2 แห่ง

ครัวเรือนขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา มีอัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำที่ถูกสุขลักษณะ  ร้อยละ  99

          3.5 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา มีการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ โดยมีป้อมสถานีตำบล จำนวน 2 แห่ง  ได้แก่

           1)  ป้อมสถานีตำรวจบ้านกลาง  ตั้งอยู่ที่บ้านกลาง  หมู่ที่ 5  มีตำรวจประจำการ จำนวน 1 นาย  โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ คือ       0-7729-9683

           2) ป้อมสถานีตำรวจบ้านสัมปัง  ตั้งอยู่ที่บ้านท่าไท  หมู่ที่ 6  มีตำรวจประจำการ จำนวน 1 นาย  โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ คือ 0-7729-9310

          3.6 มวลชนจัดตั้ง

                องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพามีกลุ่มมวลชนจัดตั้งของประชาชน จำนวน 5 กลุ่ม  ดังนี้

              1) ลูกเสือชาวบ้านเฉลิมพระเกียรติฯ   3  รุ่น จำนวน  360  คน

              2) ไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช.)     1  รุ่น จำนวน    15  คน

              3) อาสาพัฒนาป้องกันตนเอง (อพป.)    1  รุ่น จำนวน    15  คน

              4) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)   2  รุ่น จำนวน  180  คน

              5) กลุ่มสตรีอาสาพัฒนา  2  รุ่น จำนวน  250  คน

4. ด้านเศรษฐกิจ

          4.1 รายได้ประชากร

                 จากข้อมูลในเวปไซต์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี www.suratthani.go.th หัวข้อตัวชี้วัดเศรษฐกิจ – การคลัง ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (Gross Provincial Product : GPP) ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปี 2550 มีมูลค่า  94,020 ล้านบาท  ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีเท่ากับ 97,936 บาท

          4.2 การเกษตรกรรม

                 ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม  ซึ่งในเขตตำบลคลองพามีพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูก ประมาณ  82,056  ไร่            

          4.3 การพาณิชยกรรมและบริการ

                 ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพามีหน่วยธุรกิจต่าง ๆ ได้แก่

                  1)  ร้านรับซื้อปาล์มน้ำมัน           จำนวน           5   ร้าน

                  2)  โรงสีกาแฟ                       จำนวน           18  โรง

                  3)  ร้านค้าต่าง ๆ                     จำนวน           62  ร้าน

                  4)  สถานบันเทิง                     จำนวน           3    แห่ง

                  5)  ตลาดนัด                         จำนวน           3    แห่ง

                  6)  ปั๊มน้ำมัน                         จำนวน           1    แห่ง

                  7)  ปั๊มหลอดแก้ว                    จำนวน           6    แห่ง

                  8)  ร้านรับซื้อยางพารา              จำนวน           3    ร้าน

                  9)  ร้านเสริมสวย                    จำนวน           4    ร้าน

                 10) อาคาร, บ้านเช่า                 จำนวน           8    แห่ง

 

5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และแหล่งน้ำ

          5.1  สภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ

               1) ลักษณะภูมิประเทศ ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา  แบ่งออกเป็น

                    - ทิศตะวันออกของถนนเพชรเกษม 41 พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีปัญหาน้ำท่วมขังในบางพื้นที่  สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนดินเหนียว

                      - ทิศตะวันตกของถนนเพชรเกษม มีพื้นที่เป็นที่ราบสูง มีปัญหาการพังทลายของหน้าดินในช่วงฤดูฝน ด้านที่ติดกับอำเภอกะเปอร์  จังหวัดระนอง มีสภาพเป็นภูเขาสูง ติดเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง

               2) ลักษณะภูมิอากาศ  โดยทั่วไปของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากมหาสมุทรอินเดีย พัดผ่านระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดผ่านอ่าวไทยในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม จึงทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนที่ยาวนาน สภาพอากาศโดยทั่ว ๆ ไป ของจังหวัดจึงอยู่ในเกณฑ์สบาย คือ มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27.8 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 82 % ฤดูกาลของจังหวัดแบ่งได้เป็น 2 ฤดู คือ

                    - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนกรกฎาคม และอากาศจะร้อนจัดในเดือนเมษายน

                    - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม - เดือนมกราคม และมีฝนตกมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน

 

          5.2 ทรัพยากรป่าไม้

                ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพามีป่าต้นน้ำซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง  และป่าชุมชนในหมู่ที่ 6 และ หมู่ที่ 12  ซึ่งมีประชาชนบุกรุกแผ้วถางป่า เพื่อใช้เป็นพื้นที่ทำกินในบางส่วน

          5.3 ทรัพยากรน้ำ

                องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา มีทรัพยากรน้ำมาจากแหล่งสำคัญ 4 แหล่ง คือ

                 1) น้ำฝน ในภาพรวมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 935.9 มิลลิเมตร จำนวนวันที่รับฝนตกในรอบปีประมาณ 142 วัน (ข้อมูลจากกองภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา)

                 2) น้ำท่า น้ำบนผิวดินในสภาพต่างๆ เช่น น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง บึง  เป็นต้น โดยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา ทรัพยากรน้ำที่ใช้ประโยชน์จากน้ำท่า ได้แก่

                    - คลองท่ากระจาย องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพาได้ใช้น้ำจากลำน้ำดังกล่าวมาผลิตน้ำประปาที่ระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่บ้านชายท่า หมู่ที่ 1

                    - คลองพา องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพาได้ใช้น้ำจากลำน้ำดังกล่าวมาผลิตน้ำประปาที่ระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่บ้านท่าไทบน หมู่ที่ 7

                นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำอื่น ๆ อีก อาทิ ลำคลอง, ลำห้วยสายเล็กๆ ที่ไหลผ่านพื้นที่ตำบลคลองพา จำนวน 10 สาย ฝายเก็บน้ำ จำนวน 21 ฝาย  และสระเก็บน้ำ จำนวน 127 สระ

               3) น้ำบาดาล องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพาได้สูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ผลิตน้ำประปา ที่ระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ ระบบประปาหมู่บ้าน บ้านหนองปลิง หมู่ที่ 3  ระบบประปาหมู่บ้าน บ้านขวัญพัฒน์ ( ร.ร.บ้านขวัญพัฒน์)  ระบบประปาหมู่บ้าน บ้านขวัญพัฒน์ หมู่ที่ 8  และระบบประปาหมู่บ้าน บ้านเขาชงโค  หมู่ที่ 12 นอกจากนี้ยังมีบ่อบาดาลแบบมือโยกอีก จำนวน 28 บ่อ (ใช้การได้ 23 บ่อ)

              4) บ่อน้ำตื้น องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา มีบ่อน้ำตื้นเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ตามแหล่งชุมชนต่าง ๆ ภายในตำบล

             เนื่องจากพื้นที่บางส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองพาเป็นที่ราบสูง และภูเขาสูง จึงเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดหารถน้ำ ความจุถังเก็บน้ำ 6,000 ลิตร  ไว้สำหรับแจกจ่ายน้ำให้กับประชาชน

 

6. ด้านการเมือง การบริหาร

          6.1 การบริหารการเมืองท้องถิ่น

             องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย  2  ฝ่าย  คือ

            1) ฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา  มีฐานะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง หมู่บ้านละ  2  คน ตำบลคลองพามี 13 หมู่บ้าน มีสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน  26  คน

            2) ฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา มีผู้บริหารจำนวน 3 คน  ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอีก  1  คน ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามมติ ข้อบังคับ และแผนพัฒนาตำบล ทั้งนี้มีเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอีก  1  คน

          6.2 โครงสร้างอัตรากำลังและอำนาจหน้าที่ในการบริหารงาน

             การจัดโครงสร้างการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา  ประกอบด้วย

          - การแบ่งส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดกองหรือส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2545 แบ่งส่วนราชการเป็น 1 สำนัก และ 2 ส่วนราชการ  โดยมีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพาเป็นผู้บังคับบัญชา  รายละเอียดดังนี้

          องค์การบริหารส่วนตำบล  ประกอบด้วย  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  1  คน และรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน มีหน้าที่บริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล  ให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 26 คน  มีหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติและควบคุมดูแลการบริหารงานฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามนโยบาย  ดำรงตำแหน่งคราวละ  4  ปี นอกจากนั้นยังประกอบด้วยพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล  ลูกจ้างประจำและพนักงานจ้าง  เป็นผู้ปฏิบัติราชการเพื่อสนองนโยบายฝ่ายการเมืองที่กำหนดไว้เป็นแผนงาน / โครงการ  และปฏิบัติงานตามระเบียบปฏิบัติ ของทางราชการสนองนโยบายของรัฐบาล  โดยมีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้บังคับบัญชา  และรับผิดชอบในการควบคุมดูแลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เกิดประโยชน์สูงสุดและถูกต้องตามระเบียบ  กฎหมายต่าง ๆ 

             1)  สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล  มีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้บังคับบัญชาชั้นต้น  ทำหน้าที่รักษาราชการแทนหัวหน้าสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล รับผิดชอบงานในส่วนราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลและราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนตำบลโดยเฉพาะ  รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบาย  แนวทางและแผนการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล  มีข้าราชการส่วนท้องถิ่นในสังกัด  2  คน  พนักงานจ้าง  6  คน

            2)  ส่วนการคลัง มีหัวหน้าส่วนการคลัง เป็นผู้บังคับบัญชาชั้นต้น รับผิดชอบงานในส่วนการจ่าย  การรับ  การนำส่งเงิน  การเก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกางานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จบำนาญและเงินอื่น ๆ  งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ ฐานะทางการเงิน  การจัดสรรเงินต่าง ๆ   การจัดบัญชีทุกประเภท  ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่าย ๆ  การควบคุมการเบิกจ่าย  งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี  งานเกี่ยวกับพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล  และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย  มีข้าราชการส่วนท้องถิ่นในสังกัด  6  คน

            3)  ส่วนโยธา  มีหัวหน้าส่วนโยธาเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นต้น  รับผิดชอบงานในส่วนที่เกี่ยวกับการสำรวจ  ออกแบบ  การจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรม  การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ  งานออกแบบและเขียนแบบ  การตรวจสอบ  การก่อสร้าง  งานควบคุมอาคาร  งานแผนการปฏิบัติ  งานก่อสร้างและซ่อมบำรุง  งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกล  การรวบรวมประวัติติดตามควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกล  การควบคุม  การบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ  งานเกี่ยวกับแผนงาน  ควบคุมเก็บรักษา  การเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์  อะไหล่  น้ำมันเชื้อเพลิงและงานอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้อง  มีข้าราชการส่วนท้องถิ่นในสังกัด  2  คน  พนักงานจ้าง  3  คน

          6.3 การคลังท้องถิ่น

                สถานะการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา ประกอบด้วย

                       - งบประมาณประจำทั่วไป

                       - งบประมาณเฉพาะการ

                1) ด้านรายรับ

                        ในปีงบประมาณ พ.ศ.2551 องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา มีรายรับรวม 20,481,658.04  บาท โดยองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพามีรายรับ ดังนี้

                ก. รายได้

                       1. หมวดภาษีอากร       246,591.40  บาท

                       2. หมวดภาษีจัดสรร    9,874,696.75  บาท

                       3. หมวดค่าธรรมเนียม ค่าปรับและใบอนุญาต    170,444.00  บาท

                       4. หมวดรายได้จากทรัพย์สิน      138,732.67  บาท

                       5. หมวดรายได้จากสาธารณูปโภค     147,315.00  บาท

                       6. หมวดรายได้เบ็ดเตล็ด            395,373.00  บาท

                       7. หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป   9,508,504.97  บาท

                       จากสถานการณ์คลังด้านรายรับองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา ในปีงบประมาณ พ.ศ.2551  องค์การบริหารส่วนตำบลมีรายรับ ส่วนใหญ่จากหมวดภาษีอากร โดยเฉพาะจากภาษีที่รัฐเก็บแล้วจัดสรรให้ รองมาเป็นหมวดเงินอุดหนุน หมวดรายได้เบ็ดเตล็ด  หมวดค่าธรรมเนียม ค่าปรับและใบอนุญาต หมวดรายได้จากทรัพย์สิน ฯลฯ

               2) ด้านรายจ่าย

                       ในปีงบประมาณ พ.ศ.2551 องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา มีรายจ่ายรวม 16,130,226.62  บาท โดยองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา มีการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี ดังต่อไปนี้

                    - รายจ่ายตามงบประมาณรายจ่าย แผนงานบริหาร

                        1. งบกลาง – เงินสำรองจ่าย   1,123,194.13  บาท

                        2. หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ  1,671,350.00  บาท

                        3. หมวดค่าจ้างชั่วคราว      682,476.00  บาท

                        4. หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ  5,907,184.92  บาท

                        5. หมวดค่าสาธารณูปโภค      228,928.40  บาท

                        6. หมวดเงินอุดหนุน    1,839,870.17  บาท

                        7. หมวดรายจ่ายอื่น    1,155,914.00  บาท

                    - รายจ่ายแผนงานพัฒนา

                        1. หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 5,127,709.00  บาท

          6.4 การดำเนินกิจการพาณิชย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                       กิจการพาณิชย์ที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา ได้ดำเนินการให้บริการประชาชนในพื้นที่ ได้แก่

                       1) กิจการประปา ณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 มีผู้ใช้น้ำในเขตรับผิดชอบ รวม 303 ราย  โดยในปีงบประมาณ 2551 การประปาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา มีรายได้หลักจาก

                    - ค่าจำหน่ายน้ำจากมาตรวัดน้ำ  147,315.00  บาท  โดยอัตราค่าน้ำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา ลูกบาศก์เมตรละ 5.00 บาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ 2

แผนผังองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา

 

 

 

คณะนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  ประกอบด้วย

                        1. นายไพฑูรย์                 รัตนนิพนธ์                       นายกองค์การบริหารส่วนตำบล

                        2  นายธนรัตน์                 กำลังมาก                        รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

                        3. นายโสภณ                  จีนจิ้ว                             รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล                             4. นายวิทยา                          โยธารักษ์                        เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

                       

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  ประกอบด้วย

1. นายณัฐพงศ์                วิชัยดิษฐ์                                    ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

                        2. นายมโนช                   เล็กน้อย                         รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

3. นายเดโช                    สุทธิ                              สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

4. นายวีรวุฒิ                   อินนาปา                         สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

5. นายมณฑล                  พรหมสุวรรณ                   สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

6. นายปราโมทย์              วิเศษมาก                        สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

                        7. นายศักดา                   จันทร์รัตน์                       สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

                        8. นายสุทธิศักดิ์               ชีวะ                               สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

                        9. นายทวีป                    พิมสาร                           สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

                        10. นายวันชัย                 หนูเสน                           สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

                        11. นายเจริญ                  สุขขา                             สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

                        12. นายวรรณพ               แซ่อุ่ย                            สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

                        13. นายวิชาญ                 พุ่มทอง                           สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

                        14. นายมานิตย์                ทรัพย์เจริญ                      สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

                        15. นายนำชัย                  ศรีนำ                             สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

                        16. นายประดิษฐ์              หาญสุวรรณ                     สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

                        17. นายจรัญ                   สมล่ำ                             สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

                        18. นายศรีนรินทร์            เสียงเพราะ                      สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

19. นายชัยวัฒน์               ปานหมี                           สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

20. นายนพชัย                 ทวยเจริญ                                    สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

21. นายใจเจริญ               เกิดใบ                            สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

22. นายสอด                   อำไพทอง                                    สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

23. นายจรัล                    พัฒน์ใหญ่                        สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

24. นายสมพล                 แข่งขัน                           สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

25. นายสมพงศ์               ฤทธิคง                           สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

26. นายสมัย                   วุฒิระวัฒน์                      สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

การมีส่วนร่วมของประชาชน

กิจกรรมทางการเมืองและการบริหารที่ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา  มีส่วนร่วมในการดำเนินการต่าง ๆ  ดังนี้

  1. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล แผนพัฒนา 3 ปี แผนการดำเนินงาน และเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
  2. การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
  3. การจัดทำยุทธศาสตร์  วิสัยทัศน์  ในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
  4. การจัดประชุม  การฝึกอบรม  ในโครงการที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดขึ้น
  5. การร่วมแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ในการพัฒนา  และ   การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

องค์การบริหารส่วนตำบลคอลงพา มีศูนย์อำนวยการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน  ดังนี้

การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

-  รถดับเพลิง                         1          คัน

-  อัตรากำลังเจ้าหน้าที่             -           คน

การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

องค์การบริหารส่วนตำบล ได้มีโครงการจัดตั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ขึ้น 2 รุ่น  จำนวน  180  นาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ 3

แผนส่งเสริมการท่องเที่ยวองค์การบริหารส่วนตำบลคลองพา

อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ประจำปีงบประมาณ 2559 - 2561

 

 

กิจกรรม

 

 

ระยะเวลา

 

สถานที่ดำเนินการ

 

หมายเหตุ

 

1.  กิจกรรมงานประเพณีสงกรานต์

เม.ย. 60

- ทุกหมู่บ้าน ต.คลองพา

 

2.  กิจกรรมแห่เทียนพรรษา

ก.ค. 60

- สำนักสงฆ์นาตาจันทร์

- วัดเขากอม

 

3.  กิจกรรมรับ-ส่งตายาย บุญเดือนสิบ

ก.ย. 60

- หมู่ที่ 7 บ้านท่าไทบน

- วัดเขากอม

 

4.  โครงการส่งเสริมพระพุทธศาสนา

ตลอดทั้งปี

- วัดเขากอม

- สำนักสงฆ์นาตาจันทร์

 

5. โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเขากอม

(งานก่อสร้างถนนลูกรัง)

ก.ย. 60

- วัดเขากอม

 

6. ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวใน

    เขตพื้นที่

    - ท่องเที่ยวเชิงเกษตร

 

 

 

 

   - ท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม

 

 

 

 

ตลอดทั้งปี

 

 

 

- ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่ 12 บ้านเขาชงโค

- ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร หมู่ที่ 7 บ้านท่าไทบน

- วัดป่าท่าไท หมู่ที่ 7 บ้านท่าไทบน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ 4

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม

วัดป่าท่าไท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประวัติความเป็นมาวัดป่าท่าไท

******************************

 

          เดิมเป็นสำนักสงฆ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าของชุมชนที่แวดล้อมด้วยป่าธรรมชาติอันเงียบสงบ  ต่อมาท่านเจ้าอาวาสวัดป่าท่าไท ท่านได้มาก่อตั้งวัดป่าแห่งนี้ขึ้นมา วัดป่าท่าไท เป็นวัดธรรมยุตนิกาย ที่เพิ่งก่อตั้งอายุประมาณ 15-16 ปี เพื่อเผยแพร่ข้อวัตรปฏิบัติของพระป่า แก่ญาติโยมในพื้นที่ และเพื่อเป็นเหตุแห่งศรัทธาให้ญาติโยมมาสนใจการปฏิบัติธรรม โดยวัดป่าท่าไทเป็นวัดป่าสายพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโตเพียงแห่งเดียวในพื้นที่  สภาพภายในบริเวณวัดค่อนข้างเงียบสงบและมีภูมิทัศน์ที่สวยงามเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

          - พระครูปลัดชนะ กิตติปัญโญ เป็นเจ้าอาวาส และมีพระภิกษุสงฆ์ รวม ๘ รูป ตั้งอยู่ที่ ๒๓๒ ม.๗ ตำบลคลองพา อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นวัดสังกัดธรรมยุตนิกาย โดยมีข้อวัตรปฎิบัติบำเพ็ญสมณธรรมเป็นต้นแบบของวัดป่าพระธุดงค์กรรมฐาน เรียกว่าพระกรรมฐานสายวัดป่า หรือ พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ถือธุดงค์อย่างเคร่งครัด คือฉันมื้อเดียว เน้นปฏิบัติภาวนาตามแนวทางพระอริยมรรคมีองค์แปด

          - ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นวัดเมื่อปี ๒๕๕๓

          - ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี ๒๕๕๕

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

          - วันจันทร์ที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ได้เสด็จมาประกอบศาสนกิจเป็นประธานทรงตัดหวายลูกนิมิตอุโบสถ พระครูปลัดชนะ กิตติปัญโญ จึงปรารภกราบทูลโครงการจัดสร้างพระบรมมหาธาตุมหาเจดีย์ในพระพุทธศาสนาขอประทานอนุญาตชื่ออักษรพระนามย่อ " ส.ส.” ประดิษฐานบนด้านหน้าพระบรมธาตุมหาเจดีย์ในดินแดนสยามประเทศ

          - ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ พระครูปลัดชนะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูกิตติปัญญากร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงการพระบรมมหาธาตุเจดีย์ ณ วัดป่าท่าไท

********************************************

          โครงการพระบรมมหาธาตุเจดีย์ ณ วัดป่าท่าไทนี้ พระญาณวิศิษฏ์ (หลวงพ่อทอง จนฺทสิริ) เจ้าอาวาสวัดอโศการามประธานที่ปรึกษาฝ่ายพระสงฆ์ได้มอบหมายให้ พระครูปลัดชนะ กิตติปัญโญ เจ้าอาวาสวัดป่าท่าไททำหน้าที่แทนโดยมอบหมายนำแผ่นดวงศิลาฤกษ์พร้อมคณะสงฆ์ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์การสร้างเมื่อ วันจันทร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๗ เวลา ๐๘.๒๙. น. ลัคณาสถิตราศีเมถุน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

          ประธานการก่อสร้างโครงการพระบรมมหาธาตุเจดีย์นำโดย นายสมศักดิ์ บุญทอง อัยการอาวุโสและที่ปรึกษาอธิบดีอัยการภาค ๘ (อดีตรองอัยการสูงสุด) พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาจำนวนมาก

          - วัดป่าท่าไทได้ประกอบพิธีตอกเสาเข็มปฐมฤกษ์ พระบรมมหาธาตุเจดีย์ ณ วัดป่าท่าไท ในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ตรงกับวันอาสาฬหบูชา